Sisaket College of Agriculture and Technology " The institute that can change your life. "

||สอศ||สำนักอำนวยการ||C-poor ||E-Office||บทเรียนออนไลน์||อ่านข่าว||ข่าวศรีเกษบ้านเรา||

วันศุกร์ที่ 13 เดือน กันยายน พ.ศ. 2567
Google Search   

เมนูหลัก
หน้าหลัก
ทำเนียบฝ่ายบริหาร
ทำเนียบผู้บริหาร วษท.ศก.
โครงสร้างการบริหารงาน
ตารางสอน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
อัตลักษณ์ / เอกลักษณ์
ยุทธศาสตร์สถานศึกษา
ข้อมูลสถานประกอบการ
สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์

ศิษย์เก่าเกษตรศรีฯ

ลงทะเบียนศิษย์เก่า

กระดานข่าวเกษตรศรี

ร้านค้าพันธุ์ไม้

KM เกษตรศรี

ข้อมูลพื้นฐาน 9 ด้าน

ข้อมูลทั่วไปของสถานศึกษา
ข้อมูลนักศึกษา
ข้อมูลบุคลากร
ข้อมูลงบประมาณและการเงิน
ข้อมูลหลักสูตร
ข้อมูลครุภัณฑ์
ข้อมูลอาคารสถานที่
ข้อมูลตลาดแรงงาน
ข้อมูลพื้นฐานจังหวัดศรีสะเกษ
ประวัติจังหวัดศรีสะเกษ
ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลสถิติจังหวัด
โครงสร้างเศรษฐกิจ
ยุทธศาสตร์การพัฒนา
แหล่งท่องเที่ยว
เทศกาลและงานประเพณี

หน่วยงานภายใน

ฝ่ายวิชาการ

แผนกวิชาสามัญสัมพันธ์
แผนกวิชาสัตวศาสตร์
แผนกวิชาบริหารธุรกิจ
แผนกพืชศาสตร์
แผนกวิชาช่างกลเกษตร
แผนกวิชาอุตสาหกรรมเกษตร
แผนกวิชาประมง

จังหวัดศรีสะเกษ

ศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษ
องค์การบริหารส่วนจังหวัด ศ.ก.
เทศบาลเมืองศรีสะเกษ
มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ
ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ
สำนักงานแรงงานจังหวัด
สำนักงานประมงจังหวัด
สำนักงานพาณิชย์จังหวัด

ตลาดนัดแรงงานจังหวัด

สถานศึกษา

ว.เทคนิคศรีสะเกษ

ว.การอาชีพศรีสะเกษ

ว.เทคนิคกันทรลักษ
ว.การอาชีพขุนหาญ
ว.สารพัดช่างศรีสะเกษ
วทก.กันทรารมย์
วทก.ราษีไศล

โครงการร่วมต่างประเทศ
รร.พระราชทานกัมปงเชลเตียล
อาราวา ไทย-อิสราเอล
ฝึกงานไทย-เดนมาร์ก
โครงการอาสาสมัครเกาหลีฯ
ทวีภาคี-เบทาโกร
ทวีภาคีโคนม
โครงการแลกเปลี่ยนไนจีเรีย
สถิติเว็บไซด์

ตั้งแต่ 11 ก.ค. 2566

Link น่าสนใจ

 

ประวัติเมืองศรีสะเกษ

 

ก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา

 

       ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดศรีสะเกษก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา ไม่ปรากฎหลักฐานแน่นอน มีการจดบันทึกไว้พอสังเขป ส่วนมากได้จากคำบอกเล่าของผู้สูงอายุเล่าต่อๆ กันมา เอาความแน่นอนไม่ได้นัก นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีสันนิษฐานว่า พื้นที่ภาคอีสานในปัจจุบันเคยเป็นที่อยู่ของพวกละว้าและลาว มีแว่นแคว้นอาณาเขตปกครอง

เรียกว่า "อาณาจักรฟูนัน"

 

การละเล่นของชนชาติเขมรในอดีต

 

      ประมาณปี พ.ศ.1100 พวกละว้าที่เคยมีอำนาจปกครอง อาณาจักรฟูนันเสื่อมอำนาจลง ขอมเข้ามามีอำนาจแทนและตั้งอาณาจักรเจนละหรืออิศานปุระขึ้น พวกละว้าถอยร่นไปทางเหนือ ปล่อยให้พื้นที่ภาคอีสานรกร้างว่างเปล่าเป็นจำนวนมากเขตพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษและจังหวัดใกล้เคียงจึงถูกทิ้งให้เป็นที่รกร้างและเป็นป่าดง ขอมได้แบ่งการปกครองเป็น 3 ภาคโดยมีศูนย์การปกครองอยู่ที่ละโว้(ลพบุรี) พิมาย(นครราชสีมา)และสกลนคร มีฐานะเป็นเมืองประเทศราช ขึ้นตรงต่อศูนย์

กลางการปกครองใหญ่ที่นครวัด

ประเพณีชนชาติเขมร

 

       ในยุคที่ขอมเรืองอำนาจ ศรีสะเกษน่าจะเป็นดินแดนแห่งหนึ่งที่ขอมใช้เป็นเส้นทางไปมาระหว่างเมืองประเทศราชดังกล่าวแล้ว เพราะปรากฎโบราณสถานโบราณวัตถุของขอมซึ่งกรมศิลปากรสำรวจในจังหวัดศรีสะเกษเมื่อ พ.ศ.2512 จำนวน15 แห่ง ไม่รวมเขาพระวิหารซึ่งเป็นเทวะสถานของขอมที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีปราสาทหินสระกำแพงใหญ่สระกำแพงน้อย ปราสาทลุมพุก ปราสาทบ้านทามจาน(บ้านสมอ)ปราสาทเยอ ปราสาทโดนต็วล (ช่องตาเฒ่า อ.กันทรลักษ์)

สันนิษฐานว่าโบราณสถานเหล่านี้มีอายุประมาณ 1,000 ปีเศษมีอยู่ตามท้องที่อำเภอต่างๆ ของจังหวัดศรีสะเกษ ขอมคงสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่พักและประกอบพิธีทางศาสนาระหว่างเดินทางจากนครวัด นครธมข้ามเทือกเขาพนมดงรักษ์มาสู่ศูนย์กลางการปกครองภาคอีสานทั้ง 3 เมืองดังกล่าวแล้ว

      เมื่อขอมเสื่อมอำนาจลง ไทยเริ่มมีอำนาจครอบครองดินแดนเหล่านี้ ขณะเดียวกันจังหวัดศรีสะเกษมีสภาพเป็นป่าดงอยู่นานเพราะแม้แต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลางก็มิได้บันทึกกล่าวถึง

จังหวัดศรีสะเกษในเอกสารใด เพิ่งจะได้มีการบันทึกหลักฐานในพงศาวดารกล่าวถึงเมืองสุรินทร์ด้วย

 

สมัยกรุงศรีอยุธยา

 

     ในสมัยกรุงศรีอยุธยาอาณาจักรไทยกว้างขวางมาก มีชาวบ้านป่าซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อย ( MINORITY TRIBE )อาศัยอยู่แถบเมืองอัตปือแสนแป แคว้นจำปาสักฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ประเทศ

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวปัจจุบัน ชนพวกนี้เรียกตัวเองว่า "ข่า" ส่วย" "กวย" หรือ "กุย" อยู่ในดินแดนของราชอาณาจักรไทย โดยสมบูรณ์ (เพิ่งเสียให้ฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ.2436

หรือ ร.ศ.112) พากนี้มีความรู้ความสามารถในการจับช้างป่ามาเลี้ยงไว้ใช้งาน ชาวส่วยหรือชาวกวยได้อพยพย้ายที่ทำมาหากินข้ามมาฝั่งขวาแม่น้ำโขง เนื่องจากชาวเมืองศรีสัตนาคนหุต

(เวียงจันทน์) ได้เข้าไปตั้งถิ่นฐานแย่งที่ทำมาหากิน

ชาวส่วยในอดีต

 

     ในปี พ.ศ.2260 ชาวส่วยได้อพยพแยกออกเป็นหลายพวกด้วยกัน แต่ละพวกมีหัวหน้าควบคุมมา เช่น เซียงปุม เซียงสีเซียงสง ตากะจะและเซียงขัน เซียงฆะ เซียงไชย หัวหน้าแต่

ละคนก็ได้หาสมัครพรรคพวกไปตั้งรกรากในที่ต่าง ๆ กัน เวียงปุม อยู่ที่บ้านที เซียงสีหรือตะกะอาม อยู่ที่รัตนบุรี เซียงสงอยู่บ้านเมือลีง (อำเภอจอมพระ) เซียงฆะ อยู่ที่สังขะ เวียงไชย

อยู่บ้านจารพัด (อำเภอศรีขรภูมิ) ส่วนตากะจะและเซียงขัน อยู่ที่บ้านปราสาทสี่เหลี่ยมดงลำดวน(บ้านดวนใหญ่ปัจจุบัน)

 

ชุมชนส่วยในปัจจุบัน

 

     พวกส่วยเหล่านี้อยู่รวมกันเป็นชุมชนใหญ่ หาเลี้ยงชีพด้วยการเกษตรและหาของป่ามาบริโภคใช้สอย มีการไปมาหาสู่ติดต่อกันระหว่างพวกส่วยอยู่เสมอ มีสภาพภูมิประเทสติดต่อเขต

กัมพูชา และมีเทือกเขาพนมดงรักเป็นเส้นกันเขตแดน ป่าดงเขตนี้มีฝูงสัตว์ป่าอุดมสมบูรณ์ โขลงช้างพัง ชางพลาย ฝูงเก้งกวาง ละมั่งและโคแดงอยู่มากมายตามทุ่งหญ้าและราวป่า เหมาะกับการทำมาหาเลี้ยงชีพของชาวส่วยอย่างยิ่ง

     ลุ พ.ศ.2302 ปีเถาะ จุลศักราช 1181 ตรงกับสมัยแผ่นดินพระบรมราชาที่ 3 หรือพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยามรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศน์) กษัตริย์องค์สุดท้ายของกรุงศรีอยุธยา พระยาช้างเผือกของพระองค์ได้แตกออกจากโรงช้างต้นในกรุงศรีอยุธยา เดินทางมาทิศตะวันออกเฉียงเหนือ โปรด

ให้ทหารเอกคู่พระทัยสองพี่น้อง (เข้าใจว่าสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก พระนามเดิมทองด้วง และกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท พระนามเดิมบุญมา) คุมไพร่พล 30 นาย ออกติด

ตามผ่านมาแขวงพิมาย ทราบจากเจ้าเมืองพิมายว่า ในดงริมเขาพนมดงรักมีพวกส่วยชำนาญใชการจับช้าง เลี้ยงช้าง สองพี่น้องกับไพร่พล จึงได้ติดตามสองพี่น้องไปเซียงสีไปที่บ้านกุดหวาย

(อำเภอรัตนบุรี) เซียงสีจึงได้พาสองพี่น้องและไพร่พลไปตามหาเซียงสง ที่บ้านเมืองลีง เซียงปุ่มที่บ้านเมืองที เซียงไชยที่บ้านกุดปะไท ตากะจะและเซียงขัน ที่บ้านโคกลำดวน เซียฆะที่บ้าน

อัจจะปะนึง (เขตอำเภอสังขะ) ทุกคนร่วมเดินทางติดตามพระยาช้างเผือก สองพี่น้องและหัวหน้าป่าดงทั้งหมด ได้ติดตามล้อมจับพระยาช้างเผือกได้ที่บ้านหนองโชก ได้คืนมาและนำส่งถึงกรุงศรีอยุธยา ด้วยความดีความชอบในครั้งนี้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสริยามรินทร์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้หัวหน้าบ้านป่าดงมีบรรดาศักด์ทั้งหมด ตากะจะหัวหน้าหมู่บ้านโคกลำ-ดวน ได้เป็นหลวงแก้วสุวรรณเซียงขันได้เป็นหลวงปราบอยู่กับตากะจะ

     ต่อมาหัวหน้าหมู่บ้านป่าดงทั้ง 5 ได้พากันไปเฝ้าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ กรุงศรีอยุธยา โดยนำสิ่งของไปทูลเกล้าฯ ถวาย คือช้าง ม้า แก่นสน ยางสน ปีกนก นกระมาด (นอแรด) งาช้าง ขี้ผึ้ง

น้ำผึ้ง เป็นการส่งส่วยตามพระราชประเพณี สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยามรินทร์ ทรงพิจารณาเห็นความดีความชอบเมื่อครั้งได้ช่วยเหลือจับพระยาช้างเผือก และเมื่อหัวหน้าหมู่บ้านได้นำสิ่งของไปทูลเกล้าฯ ถวาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งบรรดาศักดิ์ให้หัวหน้าหมู่บ้านสูงขึ้นทุกคน

     ในปี พ.ศ.2302 นี้เอง หลวงแก้วสุวรรณ(ตากะจะ) บ้านโคกลำดวนได้บรรดาศักดิ์เป็นเป็นพระยาไกรภักดีศรีนครลำดวนมีพระบรมราชโองการยกบ้านปราสาทสี่เหลี่ยมดงลำดวน ซึ่งเดิมเรียกว่า "เมืองศรีนครลำดวน" ขึ้นเป็นเมืองขุขันธ์แปลว่า "เมืองป่าดง" ให้พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวนเป็นเจ้าเมืองปกครอง

ประเพณีชนชาติลาวในอดีต

 

สมัยกรุงธนบุรี

 

     เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าในปี พ.ศ.2310 แล้ว สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระเจ้าตากสินมหาราช ได้ทรงกอบกู้อิสรภาพและทรงตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานี

      พ.ศ.2321 ปีจอ จุลศักราช 1140 กรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์)เป็นกบฎต่อไทย สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (พระบามสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) กับเจ้าพระยาสุรสียห์เป็นแม่ทัพยกขึ้นไปทางเมืองพิมายแม่ทัพสั่งให้เจ้าเมืองพิมายแต่งข้าหลวงออกมาเกณฑ์กำลังเมืองประทายสมันต์ (จังหวัดสุรินทร์) เมืองสังฆะ เมืองขุขันธ์ เมืองรัตนบุรี เป็นทัพบกยกไปตีเมืองเวียงจันทน์ เมืองจำปาศักดิ์ ได้ชัยชนะยอมขึ้นต่อไทยทั้งสองเมือง กองทัพไทยเข้าเมืองเวียงจันทน์ ได้อัญเชิญพระแก้วมรกต และพระบางพร้อมคุมตัวนครจำปาศักดิ์ไชยกุมารกลับกรุงธนบุรีในการศึกครั้งนี้เมื่อเดินทางกลับ หลวงปราบ(เซียงขัน) ทหารเอกในกองทัพ ได้หญิงม่ายชาวลาวคนหนึ่งกลับมาเป็นภรรยา มีบุตรชายติดตามมาด้วยชื่อท้าวบุญจันทน์

     พ.ศ.2324 เมืองเขมรเกิดจราจล สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกกับพระยาสุรสีห์ ได้รับพระบรมราชโองการให้เป็นแม่ทัพยกกองทัพไปปราบจราจลครั้งนี้ โดยเกณฑ์กำลังของเมืองปะทายสมันต์ เมืองขุ-ขันธ์ และเมืองสังฆะ สมทบกับกองทัพหลวงออกไปปราบปราม กองทัพไทยยกไปตีเมืองเสียมราฐ กำพงสวาย บรรทายเพชร บรรทายมาศ และเมืองรูงตำแรย์(ถ้ำช้าง) เมืองเหล่านี้ยอมแพ้ ขอขึ้นเป็นขอบขัณฑ-สีมา เสร็จแล้วยกทัพกลับกรุงธนบุรี

 

การแต่งกายของชาวลาวในอดีต

 

     เมื่อเสร็จสงครามเวียงจันทน์ และเมืองเขมรแล้ว ได้ปูนบำเหน็จให้แก่เจ้าเมืองปะทายสมันต์ เมืองขุขันธ์ และเมืองสังฆะ เลื่อนบรรดาศักดิ์ให้เป็นพระยาให้พระยาทั้งสามเมือง เจ้าเมืองขุขันธ์ ได้บรรดาศักดิ์ใหม่ จากพระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน เป็นพระยาขุขันธ์ภักดี ในปีเดียวกันนั้นเอง พระยาขุขันธ์ภักดี(ตากะจะ) ถึงแก่อนิจกรรมจึงโปรดให้หลวงปราบ (เซียงขัน) ขึ้นเป็นพระยาไกรภักดีศรีนครลำ-ดวน เจ้าเมืองขุขันธ์ ต่อมาเมืองขุขันธ์ที่บ้านปราสาทสี่เหลี่ยมดงลำดวนกันดารน้ำ พระยาไกรภักดีฯ จึงอพยพเมืองย้ายมาอยู่บ้านแตระ (แตระ)ตำบลห้วยเหนือ ที่ตั้งอำเภอขุขันธ์ในปัจจุบันสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

     ลุ พ.ศ.2325 ปีขาล จุลศักราช 1144 พระบามสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ

     พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน(เซียงขัน) ได้บรรดาสักดิ์เป็นพระยาขุขันธ์ภักดี ได้มีใบบอกกราบบังคมทูลข้อตั้งท้าวบุญจันทร์ เป็นพระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน ผู้ช่วยเจ้าเมือง อยู่มาวันหนึ่ง พระยาขุขันธ์ภักดี เผลอเรียกพระยาไกรภักดีฯ(บุญจันทร์) ว่า"ลูกเชลย" พระยาไกรภักดีจึงโกรธและผูกพระยาบาทภายหลังมีพ่อค้าญวน 30 คน มาซื้อโคกระบือที่เมืองขุขันธ์ พระยาขุขันธ์ภักดีอำนวยความสะดวกและจัดที่พักให้ญวนตลอดจนให้ไพร่นำทางไปช่องโพย ให้พวกญวนนำโค กระบือ

ไปยังเมืองพนมเปญได้สะดวก พระยาไกรภักดีฯ (บุญจันทร์) ได้กล่าวโทษมายังกรุงเทพฯ และโปรดเกล้า ให้เรียกตัวพระยาขุขันธ์ไปลงโทษและจำคุกไว้ที่กรุงเทพฯ แล้วโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งพระยาไกรภักดีฯ-(บุญจันทร์) เป็นเจ้าเมืองขุขันธ์แทน

     ในปี พ.ศ.2325 นี้ พระภักดีภูธรสงคราม(อุ่น) ปลัดเมืองขุขันธ์ กราบบังคมทูลขอแยกจากขุขันธ์ไปตั้งที่บ้านโนนสามขาจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านโนนสามขาขึ้นเป็นเมือง "ศรีสระเกศ" ต่อมาปี พ.ศ.2328ได้ย้ายเมืองศรีสระเกศจากบ้านโนนสามขา มาตั้ง ณ บ้านพันทาเจียงอี

อยู่ในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษทุกวันนี้

     พ.ศ.2342 มีโปรดเกล้าฯ ให้เกณฑ์กำลังเมืองสุรินทร์ เมืองขุขันธ์เมืองสังฆะ เมืองละ 100 รวม 300 ยกทัพไปตีพม่าซึ่งยกมาตั้งในเขตนครเชียงใหม่ กองทัพไทยมิทันไปถึง กองทัพพม่าก็ถอยกลับ จึงโปรดเกล้าฯให้กองทัพไทยยกกลับ

     พ.ศ.2350 ทรงพระราชดำริว่า เมืองสุรินทร์ เมืองสังฆะ และเมืองขุขันธ์ เป็นเมืองเคยตามเสด็จพระราชดำเนินในการพระราชสงครามหลายครั้งมีความชอบมาก จึงโปรดเกล้าฯ ให้ทั้ง 3 เมือง ขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ มีอำนาจชำระคดีได้เอง ไม่ต้องขึ้นต่อเมืองพิมายเหมือนแต่ก่อน

การแต่งการของชาวเยอ

 

     พ.ศ.2369 รัชสมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าอนุวงศ์ เมืองเวียงจันทน์แต่งตั้งให้เจ้าอุปราช(สีถาน) กับเจ้าราชวงศ์เมืองเวียงจันทรน์ คุมกองทัพบกเข้าตีเมืองรายทางเข้ามาจนถึงเมืองนครราชสีมา ฝ่ายทางเมืองจำปาศักดิ์ เจ้านครจำปาศักดิ์(เจ้าโย่) เกณฑ์กำลังยกทัพมาตีเมืองขุขันธ์

จับพระไกรภักดีศรีนครลำดวน (บุญจันทร์) เจ้าเมืองขุขันธ์ กับพระภักดีภูธรสงคราม (มานะ) ปลัดเมืองกับพระแก้วมนตรี(ทศ)ยกกระบัตรกับกรมการได้ ฆ่าตายทั้งหมด เจ้าเมืองสังฆะ และเมืองสุรินทร์หนีได้ทัน กองทัพจำปาศักดิ์ ตั้งค่ายอยู่ที่บ้านส้มป่อย แขวงเมืองขุขันธ์ค่ายหนึ่ง และค่ายอื่น ๆ

สี่ค่าย กวาดต้อนครอบครัวไทยเขมรไปเมืองจำปาศักดิ์ จากนั้นมาเมืองขุขันธ์ ไม่มีข้าราชการปกครอง โปรดเกล้าฯ ให้พระยาสังฆะ ไปเป็นพระยาไกรภักดีศรีนครลำดวนเจ้าเมือง ให้พระไชยเป็นพระภักดีภูธรสงครามปลัดเมือง ให้พระสะเทื้อน (นวน) เป็นพระแก้วมนตรียกกระบัตรเมือง ให้ท้ายหล้า บุตรพระยาขุขันธ์(เซียงขัน) เป็นมหาดไทยช่วยกันรักษาเมืองขุขันธ์ต่อไป จากนั้นมาได้มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งเจ้าเมืองและนามเจ้าเมืองหลายครั้ง

     พ.ศ.2426 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระยาขุขันธ์(ปัญญา) เจ้าเมืองกับพระปลัด(จันลี) ได้นำช้างพังสีประหลาดหนึ่งเชือกลงมาน้อมเกล้าฯ ถวายที่กรุงเทพฯ

     พ.ศ.2433 มีสารตราโปรดเกล้าฯ ให้เมืองศรีสระเกศ(ชื่อเดิม) ไปอยู่ในบังคับบัญชาของข้าหลวงใหญ่ได้โปรดให้หลวงจำนงยุทธกิจ(อิ่ม)กับขุนไผทไทยพิทักษ์(เกลื่อน) เป็นข้าหลวงเมืองศรีสระเกศ

การแต่งการของชาวเยอ

 

     พ.ศ.2435 โปรดเกล้าฯ ให้จัดรูปการปกครองแบบมณทลเมืองศรีสiะเกศขึ้นอยู่กับเมณฑลอีสานกองบัญชาการมณฑลอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธาณี

     พ.ศ.2445 เปลี่ยนชื่อมณฑลอีสานเป็น มณฑลอุบลมีเมืองขึ้น 3 เมืองคือ อุบลราชธานี ขุขันธ์ และสุรินทร์ ไม่ปรากฎชื่อเมืองศรีสระเกศสันนิษฐานว่าเมืองศรีสระเกศถูกยุบลงเป็นอำเภอขึ้นกับเมืองขุขันธ์ซึ่งเป็นเมืองเก่ามาแต่เดิม

     พ.ศ.2447 ย้ายที่ตั้งเมืองขุขันธ์ (ซึ่งอยู่ที่บ้านแตระ ตำบลห้วยเหนืออำเภอขุขันธ์ในปัจจุบัน) มาอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า(ปัจจุบันคือตำบลเมืองเหนือในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษในปัจจุบัน) และยังคงใช้ชื่อ"เมืองขุขันธ์" ยุบเมืองขุขันธ์เดิมเป็นอำเภอห้วยเหนือ(อำเภอขุขันธ์ในปัจจุบันนี้)

     พ.ศ.2459 กระทรวงมหาดไทย มีประกาศให้เปลี่ยนชื่อเมืองทุกเมืองเป็นจังหวัด เมืองขุขันธ์จึงเป็นเป็นจังหวัดขุขันธ์ เมื่อวันที่ 9พฤศจิกายน พ.ศ.2459 เปลี่ยนผู้ว่าราชการเมืองเป็นผู้ว่าราชการ

จังหวัด

     พ.ศ.2481 มีพระราชกฤษฎีกา เปลี่ยนชื่อจังหวัดขุขันธ์ เป็นจังหวัดศรีสะเกษ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน

 

-------------------->>>>>>-----<<<<<<<<<----->>>>>>>>>----------------

ที่มา           : http://www.sisaket.go.th/story_sisaket.html

อ้างอิง        : หนังสือ งานวันดอกลำดวนบาน 17-18 มีนาคม 2532

ครั้งที่พิม์     : พิมพ์ครั้งที่ 3

ปีที่พิมพ์      : กุมภาพันธ์ 2532

จำนวนพิมพ์  : 1,500 ฉบับ

พิมพ์ที่        :  บริษัท อมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด 413/27-36 อรุณอมรินทร์ บางกอกน้อย กทม

                    10700 โทร.4242800-1

                    นายชูเกียรติ อุทกะพันธุ์ ผู้พิมพ์โฆษณา

ผู้จัดพิมพ์     : สำนักงานจังหวัดศรีสะเกษและศูนย์วัฒนธรรม

                    จังหวัดศรีสะเกษ โรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย

ข้อมูลภาพ   ชนเผ่าต่างๆ

 

 

 

 

ดร.โสภา มะเครือสี
ผู้อำนวยการ
งานทะเบียน
ตรวจสอบผลการเรียน
รายชื่อนักศึกษา

รายงานข้อมูล

รายงานการปฏิบัติงานประจำปี
รายงานการปฏิบัติงานฟาร์มประจำเดือน
รายงานการปฏิบัติงานประจำเดือน

หลักสูตรปริญญาตรี (ทลบ.)

ข้อมูลหลักสูตร (ทลบ.) ต่อเนื่อง
กรรมการหลักสูตร
คณะผู้สอน
ปฏิทินการศึกษา 2560
รายชื่อนักศึกษา 2559
บทเรียนออนไลน์
 บทเรียนออนไลน์(เก่า)
 บทเรียนออนไลน์

เว็บไซต์ครู

เว็บไซด์ผลงานนักศึกษา
ระบบออนไลน์

ระบบบริหารงานวิทยาลัย

ระบบงานบุคลากร วษท.ศก
ศิษย์เก่าเกษตรศรีฯ
เสวนา & ผู้อำนวยการ
ร้านค้าพันธุ์ไม้
KM เกษตรศรี

E-learning

เรียนผสมเทียมออนไลน์
จุฬาออนไลน์
NECTEC
thaiwbi
e-learning วษท.ชัยภูมิ
e-learning Krudet.com
e-learning วษท.เชียงราย
e-learning วษท,นครราชสีมา
school net !!!
วัดผลดอทคอม

ห้องสมุด

ห้องสมุด online
AIT
วิทยานิพนธ์ไทย
ห้องสมุด ม.ขอนแก่น
ห้องสมุด ม.มหาสารคาม
ห้องสมุด ม.เชียงใหม่
ห้องสมุด ม.จุฬาฯ
ห้องสมุด ม.ธรรมศาสตร์
ห้องสมุด ม.เกษตรศาสตร์
ห้องสมุด ม.ราชภัฎพิบูลสงคราม

จัดหางาน

กรมการจัดหางาน
สมัครงาน
สมัครงานกับ Jobthai
หางานกับJob Thai Web

การศึกษา

 

วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ
Sisaket College of Agriculture and Technology
 91 ต.หนองครก อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ  33000   โทร. 045-612934 Fax 045-613438
E-mail :  sskcat@sskcat.ac.th   
 Webmaster::  prajak.n@sskcat.ac.th